มจธ. - KMUTT · 2019-09-10 · 2...

Post on 31-May-2020

6 views 0 download

Transcript of มจธ. - KMUTT · 2019-09-10 · 2...

ปีที่ 3

ฉบับ

ที่ 2

ประจ

ำ�เดือ

นเมษ

�ยน

– ธัน

ว�คม

256

0

นักวิจัย มจธ.วิจัยด�้น LCAสร้างผลกระทบในวงการ

อ�จ�รย์ มจธ. รับรางวัล นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำ�ปี 2560

มจธ. โดดเด่นในง�น

256มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ.2

CONTENTSปีที่ 3 ฉบับที่ 2

ประจำ�เดือนเมษ�ยน – ธันว�คม 2560

คณะผู้จัดท�ำที่ปรึกษำรศ. ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร ผศ. ดร.มณฑิรา นพรัตน์ ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร ดร.วรินธร สงคศิริ รศ. ดร.สุภาภรณ์ ชีวะธนรักษ์ ดร.ผ่องศรี เวสารัช

บรรณำธิกำร คุณวงศิยา เลิศไตรรักษ์

กองบรรณำธิกำร ส�านักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โทรศัพท์ 0-2470-9651 โทรสาร 0-2872-9083

พิมพ์ที ่บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ากัด (มหาชน)

 researchpr@kmutt.ac.th  https://www.facebook.com/RIPOKMUTT  https://www.kmutt.ac.th/rippc

04นักวิจัย มจธ. สร้�งผลกระทบ ในวงก�รวิจัยด้�น LCA

05พิธีลงน�มบันทึกข้อตกลง คว�มร่วมมือระหว่�งมห�วิทย�ลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้�ธนบุรี กับกองทัพเรือ

06อ�จ�รย์ มจธ. รับร�งวัล นักวิทย�ศ�สตร์รุ่นใหม่ ประจำ�ปี 2560

08มจธ. โดดเด่นในง�น “มหกรรมง�นวิจัยแห่งช�ติ 2560”

07นวัตกรรมท่อสเตนเลสทนคว�มร้อนของไทย ได้รับร�งวัลระดับโลก

10ง�นเชิดชูเกียรติบุคล�กร มจธ. ประจำ�ปี 2559

11โปรดเกล้�ฯ แต่งตั้ง ศ�สตร�จ�รย์ใหม่

02

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ. 3

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม  มจธ.  ฉบับนี้  เป็นฉบับส่งท้ายปลายปี  2560  และเข้าสู่ปีที่  4  ของจุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ. 

ส�าหรับจุลสารฯ  ฉบับนี้  มจธ.  ยังคงให้ความส�าคัญกับการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ  ซึ่งมหาวิทยาลัยขอขอบคุณอาจารย์  นักวิจัย  ท่ีร่วมกันสร้างงานวิจัย  เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคม  จุลสารฯ  ฉบับนี้มีหลากหลายเร่ืองราวท่ีสะท้อนให้เห็นคุณภาพงานวิจัยของ  มจธ.  อาท ิศ. ดร.แชบเบียร์ กีวาลา ศาสตราจารย์ประจ�าบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคการประเมินผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (LCA หรือ Life Cycle Assessment) สร้างผลกระทบในวงการวจิยัด้าน LCA อกีท้ัง ศ. ดร.แชบเบยีร์ ได้รบัเกยีรตแิต่งตัง้ให้เป็น Subject Editor ด้าน Energy and Waste Management Systems ของ The International Journal of Life Cycle Assessment  ของส�านักพิมพ์  Springer  โดยที่ท่านเป็นท่านเดียวในเอเชียท่ีได้รับเกียรติดังกล่าวมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี

มจธ. ขอแสดงความยินดีกับ ผศ. ดร.วิบุญ ตั้งวโรดมนุกูล อาจารย์ประจ�าภาควิชาวิศวกรรม       อุตสาหการ  คณะวิศวกรรมศาสตร์  ที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจ�าปี  2560  จากมูลนิธิ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์  จากผลงานวิจัยเรื่อง  “การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการตัดด้วยเลเซอร์ส�าหรับอุตสาหกรรมผลิตสมัยใหม่” 

และขอแสดงความยินดีกับ  ศ. ดร.สมชาย  วงศ์วิเศษ  ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล  คณะวิศวกรรมศาสตร์  ที่ติดอันดับนักวิจัยที่มีการอ้างอิงผลงานสูงสุดระดับโลก  (Highly  Cited  Researchers)  ประจ�าปี  2017  ของ Web  of  Science  โดยชื่อของ  ศ. ดร.สมชาย  ติดหนึ่งในห้า อันดับสูงสุด สร้างชื่อเสียงเป็นอย่างมาก

นอกจากน้ี  ยังมีเร่ืองราวท่ีน่าสนใจอื่นๆ  ในฉบับนี้  แล้วพบกับจุลสารวิจัย และนวัตกรรม มจธ. ฉบับต่อไปครับ

บรรณาธิการบริหาร

สารจากรองอธิการบดีอาวุโส ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

รศ. ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร

รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ.4

  LCA หรอื Life Cycle Assessment คอืเทคนิคการประเมินผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม  ที่เกี่ยวพันกับ ทุกขั้นตอนของวัฏจักรหรือวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ ์ตัง้แต่การสกดั / ผลติวตัถดุบิ (extraction) การแปรรปูวัสดุ  (processing)  การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตลอดจนกระทั่งการใช้งาน  การซ่อมบ�ารุงและการก�าจัดหรือ การรีไซเคิลผลิตภัณฑ์นั้น 

  LCA  มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิต เพราะท�าให้ทราบว่า  ขั้นตอนใดในวงจรที่ส ่งผล กระทบมาก  สามารถหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข  ซึ่งจะ เป็นประโยชน์ต่อการส่งออกสินค้า  และการสร้าง ทางเลือกให้ผู ้บริโภค  โดยเฉพาะอย่างย่ิงถ้ามีการ ติดฉลากฟุตพร้ินต์ของสินค้า  (footprint)  (ได้มาจากการประเมิน  LCA)  นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อ ภาครัฐในการก�าหนดเกณฑ์มาตรฐาน  และมาตรการ ส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืนด้วย 

  ศ.  ดร.แชบเบียร์  กีวาลา  (Dr.  Shabbir  Gheewala)  ศาสตราจารย์ประจ�าบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม  (JGSEE) มจธ.  เป็น ผู้เชี่ยวชาญด้าน  LCA  ที่ฝากผลงานวิจัยและบ่มเพาะ นักวิจัยรุ่นใหม่ไว้มากมาย ได้รับทุน Chair Professor ของ สวทช. ประจ�าป ี2559 ด้วยเงินอุดหนุนเครือข่ายวิจัยของอาจารย์  จ�านวน  20  ล้านบาท  ผลงานวิจัยของ  ศ. ดร.แชบเบียร์  เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาต ิจนได้รบัแต่งตัง้ให้เป็น Subject Editor ด้าน Energy and Waste Management Systems 

Highlight

ของ  The  International  Journal  of  Life  Cycle  Assessment ของส�านกัพมิพ์ Springer ซึง่เป็นวารสารวชิาการด้าน LCA ทีม่ชีือ่เสยีงมากทีส่ดุในโลก และท่านเป็นเพียงหนึ่งเดียวในเอเชียท่ีได้รับเกียรติดังกล่าวมาเกือบ 10 ปีแล้ว

  ล่าสุดท่านได้รับเกียรติให้เป็นบรรณาธิการฉบับพิเศษของวารสารดังกล่าวในหัวข้อ “Promoting Sustainability  in Emerging Economics via Life Cycle Thinking” (Volume 22, Issue II, November 2017)  ซึ่งมีบทความจากประเทศไทยที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ถึงครึ่งหนึ่งของจ�านวนบทความในฉบับทั้งหมดมี  20  เรื่อง  และเป็นบทความที่มี  ศ. ดร.แชบเบียร ์  เป ็นผู ้แต ่งร ่วมอยู ่ถึง  6  เรื่อง  แสดงถึงบทบาทของท่านในการพัฒนางานวิจัยและบ่มเพาะนักวิจัยสาขานี้ ในประเทศไทยท่ีผ ่านมา นอกจากนี้ผลงานวิจัยจ�านวนมากของท ่านเป ็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโดยตรง  ทั้งอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพ  อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร  และอุตสาหกรรมอื่น ๆ

นักวิจัย มจธ.

สร้าง ผลกระทบ ในวงก�ร

วิจัยด้�น LCA

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ. 5

  วันที่  29  พฤษภาคม  2560  ที่ผ่านมา  มจธ. จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมืองานวิจัย  กับกองทัพเรือ  (ทร.)  มีระยะเวลารวม  5  ปี  โดยมี  รศ. ดร.ศกัรนิทร์ ภมูริตัน อธกิารบดี และ พล.ร.ต. บญุเรอืง หอมขจร  ผู้อ�านวยการส�านักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ ร่วมลงนาม ณ ห้องประชุมชล ีสินธุโสภณ ส�านักหอสมุด มจธ. ในการนี้ ดร.กัญญวิมว์ กีรติกร  รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์วิจัย  ได้กล่าว รายงานความเป็นมาของบันทึกความร่วมมือด้านงานวิจัยฉบับนี ้ รวมทั้งผลงานที่เกิดขึ้นจากการด�าเนินการ ร่วมกันภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมืองานวิจัยฉบับเเรกที่เริ่มด�าเนินการตั้งเเต่  16 กุมภาพันธ์ 2555 และได้สิ้นสุดลง 

  จากนั้น ผศ. ดร.ปรีชา  เติมสุขสวัสดิ์  หัวหน้ากลุ่มวิจัย  และคณะนักวิจัยจากกลุ่มวิจัยการประยุกต์และเทคโนโลยีวัสดุ  (Materials  Applications  and Technology  Research  Group:  MA&T)  ทั้งน้ี กลุม่วจิยัการประยกุต์และเทคโนโลยวีสัด ุประกอบด้วย  ดร.ชีวารัตน์  ม่วงพัฒน์  ดร.นคร  ศรีสุขุมบวรชัย  ดร.นภฉัตร  ธารีลาภ  ผศ. ดร.นุชธนา  พูลทอง  ดร.นันทน์  ถาวรังกูร  สังกัดคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวสัด ุและ น.ส. เกศนิ ีศรรัีกษาสนิธุ ์ สงักดัส�านักงานวจัิย นวตักรรมและพนัธมติร เป็นผูร่้วมวิจยั ได้น�าคณะ ผู้เข้าร่วมพิธีเย่ียมชมการด�าเนินงานและผลงานวิจัยภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมืองานวิจัยระหว่าง มจธ. และ กองทัพเรือ ฉบับที่  1  ได้แก่  งานวิจัยด้านเทคโนโลยีการกัดกร่อนและการป้องกันการกัดกร่อนในใบจักรเรือหลวง  งานวิจัยการพัฒนากระบวนการหล่อโลหะที่ใช้ส�าหรับเรือในกองทัพ  งานวิจัยด้าน การพฒันาระบบป้องกนัเพรยีงในท่อน�าน�า้ทะเล เป็นต้น 

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับ กองทัพเรือ

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ.6

ข่าวประชำสัมพันธ์ อ�จ�รย์

มจธ. รับรางวัล นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำ�ปี 2560

  วันที่   26  กรกฎาคม  2560  มูลนิธิส ่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์  ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่  ประจ�าปี  2560  ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.วิบุญ  ตั้งวโรดมนุกูล  อาจารย์ประจ�าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ.  ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจ�าปี 2560 จากผลงาน “การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการตัด ด้วยเลเซอร์ส�าหรับอตุสาหกรรมการผลติสมัยใหม่” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ยงยทุธ ยทุธวงศ์ อดตีรองนายกรฐัมนตรแีละกรรมการสภามหาวทิยาลยั มจธ. ให้เกยีรติแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลพร้อมชมนิทรรศการผลงาน

  ผลงานของ ผศ. ดร.วบิญุ มคีวามโดดเด่นด้วยการใช้เลเซอร์ในการตดัวัสดพุร้อมการใช้น�า้หล่อเยน็ ซึง่ท�าให้การตดัมคีวามแม่นย�า และมคีวามเรว็สงู ท�าให้การใช้เลเซอร์ส�าหรับงานตัดวัสดุได้รับความนิยมและแพร่หลายออกไป ในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิง่ในอุตสาหกรรมการผลติท่ีต้องการความละเอียดของงานตัดสูง และมีขนาดชิ้นงานที่เล็ก 

  ผศ. ดร.วบิญุ กล่าวถงึผลงานวจิยัชิน้นีว่้า เป็นเวลากว่า 9 ปีทีไ่ด้ทุม่เทวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการตัดด้วยเลเซอร์เพื่อให้ได้คุณภาพงานตัดท่ีดีขึ้น และใช้ระยะเวลาในการตัดที่สั้นลง ผลงานวิจัยต่าง ๆ สามารถน�าไปประยุกต์ใช้ในการตัดแผ่นซิลิกอนส�าหรับผลิตเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง  การตัดโลหะในกลุ่มชีวการแพทย์ส�าหรับผลิตเป็นชิ้นส่วนเทียมและอุปกรณ ์ทางการแพทย์ขนาดเล็ก เช่น ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด (Stent) รวมไปถึง การน�าไปใช้ในการผลิตไมโครเซนเซอร์  (Micro-sensors)  ไมโครแชนแนล (Micro-channel) ส�าหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และพลังงาน ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีความส�าคัญต่อประเทศมากยิ่งขึ้นในอนาคต

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ. 7

นวัตกรรม

ท่อสเตนเลสทนความร้อน ของไทยได้รับร�งวัลระดับโลก

  “ท่อสเตนเลสทนความร้อน” นวตักรรมสินค้าไทย คว้ารางวลัจากเวทรีะดบัโลก จากประเทศสวติเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่  7  กันยายน ที่ผ่านมา  บริษัท  ไทย-เยอรมัน โปรดกัส์ จ�ากดั (มหาชน) (TGPRO) ได้จดังานแถลงข่าว เปิดตัว  EXTUBA  ท่อเกลียวสเตนเลสนวัตกรรมใหม่ ซึ่งเป็นนวัตกรรมด้านท่อแลกเปลี่ยนความร้อนที ่ประหยัดพลังงาน  ผลงานดังกล่าวเป็นผลพวงของ การวิจยัและพฒันาทีท่�าร่วมกบั ศ. ดร.สมชาย วงศ์วเิศษ ซึ่งเคยได้รับรางวัลทองเกียรติยศในนาม  “Enhanced Tubes for Improving the Thermal Performance” ในงาน “44th International Exhibition and Invention of  Geneva  2016”  ณ  ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  รวมถงึได้รบัใบประกาศเกยีรตคิณุ ยกย่อง  “EXTUBA” เป็นท่อสเตนเลสช่วยประหยัดพลังงานจากวุฒิสภา 

ของไทยด้วย

  ผู้บริหารบริษัท ไทย-เยอรมัน โปรดักส์ฯ และ ศ. ดร.สมชาย  วงศ์วิเศษ  อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. ซึ่งเป็นผู้วิจัยท่อ EXTUBA  ได้กล่าวถึงจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ว่า  “ท่อนี ้มีลักษณะเป ็นเกลียว  ด ้านผิวในของท่อสามารถ เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนได้มากกว่าท่อปกติถึง  50%  ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงาน  และ ลดต ้นทุนการผลิต  เหมาะส�าหรับใช ้ ในโรงงานอุตสาหกรรมท่ีมีการใช้ความร้อนเป็นปริมาณมาก  เช่น อุตสาหกรรมน�้าตาล เป็นต้น” 

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ.8

  วันที่ 23 - 27 สิงหาคมที่ผ่านมา มจธ. ได้ร่วม แสดงผลงานวิจัยในงาน  “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560”  ณ  โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์  และบางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยใน คร้ังนี้   มจธ.  คว ้าถ ้วยรางวัล  “Gold  Award”  จากนายกรฐัมนตรีมาครอง จากผลงาน 5 รายการ ได้แก่

1  อุปกรณ์สวมใส่ส�าหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น  (Visionear)  โดย  นายนันทิพัฒน์  นาคทอง นักศึกษา มจธ. เป็นหัวหน้าโครงการ และ รศ. ดร.ธีรณี อจลากุล  อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ  วิชั่นเนียร์ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในรูปแบบต่าง  ๆ  เช่น  ตาบอดสี  ตามุมมองคับแคบ  โดยออกแบบเป็นอุปกรณ์ส�าหรับการสวมใส่ที่ประกอบด้วย  แว่นตาติดกล้องส�าหรับ ถ่ายภาพจากด้านหน้าของผู้ใช้  และกล่องประมวลผล   ซึ่งท�าหน้าที่วิเคราะห์รูปภาพและอธิบายในรูปแบบ 

ของเสียงพูดให้แก่ผู้ใช้งาน

2  อิฐทางเดินแม่เหล็กและไม้เท้าน�าทาง ผูพ้กิารทางสายตา โดย ผศ. ดร.ธดิารตัน์ บญุศร ีอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม  คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป ็นหัวหน้าโครงการ  ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได ้พัฒนากระบวนการสังเคราะห์ผงแม่เหล็กอ่อนแมงกานีส-สังกะสี  เฟอร์ไรต์จากผงถ่านที่บรรจุในถ่านไฟฉายคาร์บอน-สังกะสี  และถ่านอัลคาไลน์  แล้วน�าผงที่ได้มาฉาบบนผิวหน้าของอิฐทางเท้า  โดยการใช้งานจะใช้คู่กับไม้เท้าน�าทางผู้พิการทางสายตาที่ติดตั้งเครื่องมือกระตุ้นและตรวจวัดสนามแม่เหล็กเพื่อแสดงสัญญาณบ่งบอกแนวทางเดิน

3  หุน่ยนต์ BLISS ช่วยส่งเสรมิการเรยีนรูส้�าหรบั เด็กออทิสติก โดย ผศ. ดร.บุญเสริม แก้วก�าเหนิดพงษ์ อาจารย์ประจ�าหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ  คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ หุ่นยนต์ BLISS ช่วยส่งเสรมิการเรยีนรู้ส�าหรบัเดก็ในกลุม่โรคออทสิตกิ (Autism Spectrum Disorders) เพื่อให้เด็กสามารถ

ข่าวประชำสัมพันธ์

มจธ. โดดเด่นในง�น

256มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ

อุปกรณ์สวมใส่ สำ�หรับผู้บกพร่องท�งก�รมองเห็น (Visionear)

อิฐท�งเดินแม่เหล็ก และไม้เท้�นำ�ท�ง

ผู้พิก�รท�งส�ยต�

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ. 9

เรียนรู้และพัฒนาทักษะตามระดับที่เหมาะสม  รวมถึง ส ่งเสริมการเรียนรู ้ที่จะควบคุมตนเองในสังคม  และปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านการเล่นตามกฎกติกา 

4  เครื่องตรวจหารอยนิ้วมือแฝงส�าหรับ การพิสูจน์หลักฐานอาชญากรรม โดย ผศ. ดร.เขมฤทัย ถามะพัฒน ์อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นหวัหน้าโครงการ อปุกรณ์ดงักล่าวจะช่วยสนบัสนนุการท�างานของกองพิสูจน์หลักฐาน  โดยวัตถุพยาน หลักฐานส่วนใหญ่ที่พบในสถานที่เกิดเหตุเป็นวัตถ ุที่มีส่วนประกอบของโลหะ เช่น ปืน ปลอกกระสุนปืน มีด กุญแจ และอาวุธพกพาต่าง ๆ  อาจมีรอยลายนิ้วมือ 

(Fingerprint)  ที่สามารถน�ามาตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บคุคลเพือ่ยนืยนัตวัผูก้ระท�าผดิได้ นวตักรรมนีส้ามารถหารอยนิ้วมือแฝงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและท�าให้ภาพรอยนิ้วมือปรากฏได้ชัดเจนมากขึ้น

5  สกูต๊เตอร์ไฟฟ้าแบบพกพา โดย ผศ. ดร.ธรีนชุ จันทโสภีพันธ์  อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์  เป็นหัวหน้าโครงการ  ทางทีม วิจัยได้พัฒนาสกู ๊ตเตอร์ไฟฟ้าขึ้นที่มีลักษณะการโดยสาร 3 ล้อ เพือ่ให้ง่ายต่อการทรงตวัและเคลือ่นทีไ่ด้ แคล่วคล่อง  ผู ้ใช้สามารถพกพาขึ้นรถไฟฟ้าหรือรถ สาธารณะได้ สกูต๊เตอร์ไฟฟ้านี ้อาศยัเทคโนโลยทีางกล ท�าให้เคลือ่นท่ีง่าย มีวงเลีย้วแคบ สามารถขบัเคลือ่นเข้าในทางแคบโดยไม่มีอุปสรรค

  ด้วยผลงานท่ีโดดเด่นดังกล่าว  ท�าให้  มจธ. ได้รับคัดเลือกให้รับถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรี  (พลเอก  ประยุทธ์  จันทร์โอชา)  ระดับ  Gold  Award พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล 25,000 บาท โดยมี รศ. ดร.สุภาภรณ ์ชีวะธนรักษ์ เป็นผู้แทนรับมอบ 

หุ่นยนต์ BLISS ช่วยส่งเสริม ก�รเรียนรู้สำ�หรับเด็กออทิสติก

เครื่องตรวจห� รอยนิ้วมือแฝงสำ�หรับก�รพิสูจน์หลักฐ�นอ�ชญ�กรรม

สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้�แบบพกพ�

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ.10

ข่าวประชำสัมพันธ์

  วนัที ่29 สงิหาคมทีผ่่านมา ณ โรงแรมแบงคอ็ก แมริออท  ควีนส์ปาร์ค  สุขุมวิท  กรุงเทพฯ  ได้จัด งานเลี้ยงแสดงความยินดีเพ่ือเชิดชูเกียรติบุคลากรผู้สร้างชื่อเสียงทางวิชาการ  ประจ�าปี  2559  โดยมี ดร.ทองฉัตร  หงศ์ลดารมภ์  นายกสภามหาวิทยาลัย  และ รศ. ดร.ศกัรนิทร์ ภมูริตัน อธกิารบดี มอบของทีร่ะลกึ และกล่าวแสดงความยินดี  เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมาบุคลากร  มจธ.  ได้รับรางวัลประเภทต่าง  ๆ  มากมาย ทั้งจากภายในและภายนอก มจธ.  ซึ่งงานเชิดชูเกียรติบุคลากรเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความชื่นชมต่อทุกรางวัลอันทรงเกียรติที่สร้างความภาคภูมิใจ และเป็นแบบอย่างท่ีดีของชาว  มจธ.  และในโอกาส ครบรอบการจัดงานเชิดชูเกียรติบุคลากร  มจธ.  เป็นปีที่  10  ในปีน้ี  มหาวิทยาลัยฯ  ได้เชิญบุคลากร มจธ.  ที่ได้สร้างชื่อเสียงอย่างยิ่งและอย่างต่อเนื่องแก่มหาวิทยาลัยให้อยู่ใน KMUTT Hall of Fame หรือหอเกียรติยศ  มจธ.  5  ท่าน  ได้แก่  ศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ 

สมบัติสมภพ  คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสด ุ ศ. ดร.ภมู ิค�าเอม ภาควชิาคณติศาสตร์ คณะวทิยาศาสตร์ ศ. ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ ์คณะพลังงานสิ่งแวดล้อม และวัสดุ  ศ. ดร.สมชาย  วงศ์วิเศษ  ภาควิชาวิศวกรรมเคร่ืองกล  คณะวิศวกรรมศาสตร์  และ  ศ. ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์

  ในป ีนี้มีผู ้ ได ้ รับประกาศเกียรติภูมิ รวม 75  ท่านประกอบด้วยรางวัลดีเด่น  11  ท่าน  ได้แก่  ผศ. ดร.เขมฤทัย ถามะพัฒน์ ผศ. ดร.ชูจิต ตรีรัตนพันธ์ ศ. ดร.แชบเบียร์  กีวาลา  ศ. ดร.นวดล  เหล่าศิริพจน ์รศ. ดร.บัณฑิต  ฟุ ้งธรรมสาร  รศ. ดร.ภูมิ  ค�าเอม  รศ. ดร.วรีะศกัดิ ์สรุะเรอืงชยั  ศ. ดร.สมชาย โสภณรณฤทธิ ์ศ. ดร.สมชาย  วงศ์วิเศษ  ผศ. ดร.สิริพร  โรจนนันต ์  และ ผศ. ดร.สุรศิษฐ์ โรจนนันต์    

  นอกจากนี้ยังมีผู ้ได้รับรางวัลนักวิจัยดาวรุ่ง มจธ.  3  ท่าน  รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้าน การเรียนการสอน  3  ท่าน  รางวัลอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการดีเด ่น  3  ท่าน  รางวัลอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมดีเด่น 3 ท่าน รางวัลเจ้าหน้าที่สนับสนุนดีเด่น ด้านการพัฒนานักศึกษาดีเด่น  3  ท่าน  และรางวัล เชิดชูเกียรติประเภทหน่วยงาน 9 หน่วยงาน

งานเชิดชูเกียรติบุคลากร มจธ. ประจำ�ปี 2559

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ.10

จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ. 11จุลสารวิจัยและนวัตกรรม มจธ. 11

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศ�สตร�จ�รย์ใหม่  วันที่ 20 กันยายน 2560 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศส�านักนายกรัฐมนตรี  เรื่อง  แต่งตั้งศาสตราจารย์ความว่า  มีพระราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมแต่งตั้ง  รองศาสตราจารย์ภูมิ  ค�าเอม พนักงานมหาวิทยาลัย  ต�าแหน่ง  รองศาสตราจารย์ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ให้ด�ารงต�าแหน่งศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์  สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ตั้งแต่ วันที่ 29 ตุลาคม 2558 ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

  ปัจจุบัน  ศ. ดร.ภูมิ  ค�าเอม  ด�ารงต�าแหน่ง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่าย  คณะวิทยาศาสตร์ และเป็นหัวหน้ากลุ่มวิจัย  Theoretical  and  Com-putational  Science  Center  (Tacs)  Computa-tional and Applied Science for Smart Innovative  Research Cluster

  จุลสารวิจัยฯ  ขอแสดงความความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.ภูม ิค�าเอม มา ณ ที่นี้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาธนบุรีขอแสดงความยินดีและชื่นชม

ศ. ดร.สมชาย วงศวิเศษลกงอ่ืรคเมรรกวศิวาชิวคาภำจะรปยราจาอ

รตสาศมรรกวศิวะณค

Clarivate Analytics : Highly Cited Researchers

ไดรับการอางอิงผลงานวิจัยสูงสุดระดับโลกประจำป 2017จากสถาบัน Clarivate Analyticsประเทศสหรัฐอเมริกา

2017 Highly Cited Researcherนักวิจัยหนึ่งเดียวของสาขาวิศวกรรมศาสตรในประเทศไทย2017 Highly Cited Researcherนักวิจัยหนึ่งเดียวของสาขาวิศวกรรมศาสตรในประเทศไทย

Corealues

เกงอยางมืออาชีพ พรอมยึดมั่นและยืนหยัดบนความถูกตอง(Professional and Integrity)

เปนการจำแนกผลงานวิจัยที่ตีพิมพโดยอาศัยขอมูลและการวิเคราะหของ

ผูเชี่ยวชาญดานบรรณมิติดวยการใชแพลตฟอรมวิเคราะหและสืบคนประเภท

Web based ช้ันนำระดับโลกอยาง InCites (TM) Essential Science Indication

(SM) รวมถึงการรวบรวมขอมูลดานการวัดคุณภาพเชิงวิทยาศาสตรและขอมูล

บงช้ีแนวโนมโดยพิจารณาจากจำนวนการตีพิมพงานวิจัยและขอมูลการอางอิง

จาก Web of Science (TM) ซึ่งเปนแพลตฟอรมประเภท Web based

ที่สามารถสืบคนงานวิจัยเขิงวิทยาศาสตรและเชิงวิชาการไดอยางแมนยำที่สุด

และยังสามารถระบุจำนวนการอางอิงผลงานวิจัยไดอีกดวย

Untitled-1.pdf 1 5/2/18 11:10 AM